คอลเลคชั่น Geometry & Contrasts

เรขาคณิตและความแตกต่าง

รูปทรงเรขาคณิตและความแตกต่างคือสองเครื่องมืออันทรงพลังที่ถูกนำมาใช้ในสไตล์ของคาร์เทียร์ซึ่งเน้นทั้งรูปทรงและรูปแบบ ด้วยการเล่นกับความสมมาตรและอสมมาตร ความขนานและมุมมอง ตลอดจนความแตกต่างของสีที่เข้มข้น ซึ่งเป็นการผสมผสานที่ริเริ่มโดยคาร์เทียร์

เรขาคณิต: การเล่นกับรูปทรงต่างๆ

ค้นพบผลงานรังสรรค์อื่นๆ ในบูติค

ความคอนทราสต์ของสีที่เข้มข้น

สีแดงและสีดำ

การจับคู่ระหว่างสีแดงและสีดำได้รับการตีความในเฉดสีที่หลากหลาย เช่น สีแดงปะการังบ่มแดด สีแดงรูเบลไลท์เรืองแสง หรือสีแดงทับทิมเข้มข้น สีดำของโอนิกซ์หรือแลคเกอร์เน้นส่วนเส้นโครงร่างและปริมาตร และวาดเอฟเฟกต์ที่เหมือนเงาไปพร้อมกับจังหวะสัมผัส

สีเขียวและสีดำ

นับตั้งแต่ปรากฏโฉมครั้งแรกในยุคปี 1910 การผสมผสานระหว่างสีเขียวและสีดำกลายเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น เมื่อเมซงได้เริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของรูปแบบและความเรียบง่ายของดีไซน์ ออนิกซ์ก้าวข้ามขีดจำกัด เน้นความโดดเด่น สร้างความนูน และแสดงความเข้มข้นของสีจนกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ปรากฎบ่อยในยุคอาร์ท เดโค

สีฟ้าและสีเขียว: เฉดสีของหลุยส์ คาร์เทียร์

ด้วยจิตวิญญาณในการบุกเบิกของเมซงที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น หลุยส์ คาร์เทียร์ (Louis Cartier) ได้แนะนำการผสมผสานระหว่างสีฟ้าและสีเขียวซึ่งเป็นสีที่มักถูกมองว่าไม่เข้ากัน สิ่งที่เขาเรียกว่า “ลวดลายนกยูง” นั้นได้กลายเป็นสีเอกลักษณ์ของเมซงแล้วในปัจจุบัน

จากวัสดุสู่สีสันอันงดงาม เฉดสีของฌาน ตูแซงต์

คาร์เทียร์ได้เพิ่มเติมสีสันใหม่ๆ อีกมากมาย ซึ่งมักเป็นการผสมผสานสีให้เป็นเอกลักษณ์มากที่สุด ภายใต้แรงผลักดันของ ฌาน ตูแซงต์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ เครื่องประดับผสานอัญมณีชั้นเลิศไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน แอเมทิสต์ อะความารีน ซิทริน และเพริดอตถูกนำมาจัดเรียงข้างเพชร ทับทิม แซฟไฟร์ และมรกต สไตล์การผสมผสานชิ้นงานด้วยวัสดุหลากหลายชนิดถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์การรังสรรค์ของเมซง

ค้นพบผลงานรังสรรค์อื่นๆ ในบูติค